วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

โครงสร้างทางสังคมของระบบฟิวดัล

โครงสร้างทางสังคมของระบบฟิวดัล 

 1. กษัตริย์
มีฐานะเป็น Lord สูงสุดโดยมีขุนนางเป็น Vassal มีพันธะผูกพันทางหน้าที่ต่อกัน  กษัตริย์จะพระราชทานที่ดินเป็นการมอบหมายอำนาจในการปกครอง ให้กับขุนนาง อำนาจของกษัตริย์อ่อนลงปกครองราษฎร์ที่อยู่รอบพระนคร    ดินแดนส่วนอื่นๆเป็นของขุนนาง  และมีความผูกพันกับกษัตริย์โดยยกย่องให้เป็นหัวหน้า  มีข้อผูกพันกับกษัตริย์เพราะมีที่ดินอยู่ในอาณาเขตจึงยอมเป็น Vassal มีหน้าที่ช่วยเหลือพระเจ้าแผ่นดินยามสงคราม ที่ดินที่กษัตริย์พระราชทานให้สามารถริบคืนได้ถ้าVassal ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือสิ้นชีวิตโดย ไม่มีทายาท


2. ชนชั้นปกครองหรือขุนนางเจ้าของที่ดิน (Suzerain)
นับตั้งแต่ อัศวิน ขึ้นไป ในผรังเศส มีบรรดาศักดิ์เป็น Duke,Earl, Lord, Baron, Count มีการปกครองลดหลั่นตามลำดับขั้น ดูแลปกครองเสรีชนๆมีฐานะเป็น Vassal ของขุนนาง  ขุนนางมีฐานะเป็นทั้ง Vassal ของกษัตริย์  ซึ่งVassal มีหน้าที่ส่งทหารของตนไปสมทบกับกองทัพของ Lord   และช่วยเหลือทางการเงินแก่ Lord   ขุนนางชั้นสูงยังมีฐานะเป็น Lord ของขุนนางชั้นต่ำกว่าลงมา ขุนนางเป็นเจ้าของปราสาทหรือคฤหาสน์  ยังมีขุนนางที่ผ่านการฝึกได้รับการสถาปนาแต่ตั้งให้เป็นอัศวิน(Knight)ไม่ใช่ขุนางที่สืบทอดทางสายโลหิต

3. เสรีชน (villain) 
ส่วนใหญ่เป็นชาวนา  เป็นผู้เช่าที่ดินซึ่งเคยเป็นของตนเองแต่ไม่มีภาระผูกติดกับที่ดิน  หรือเป็นเจ้าของที่นาขนาดเล็ก ชาวนารายเล็กๆ 

4. ทาสติดที่ดิน(serf)
        คือชาวนาที่อาศัย ทำกินบนที่ดินตั้งแต่บรรพบุรุษ ต้องผูกติดกับที่ดิน จะโยกย้ายไปไหนไม่ได้ อยู่ในการควบคุมของเจ้านาย ต้องเสียภาษีรัชชูปการ ภาษีผลิตผลที่ผลิตได้ให้เจ้านาย ยอมให้เจ้านายเกณฑ์แรงงานขุดคู สร้างสะพาน   

☼ พระและนักบวช  มีบทบาททางการอบรมจิตใจ ☼


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น